วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

เดิน-วิ่ง "Run for lanta" ครั้งที่ 2 สมทบทุนช่วย รพ.เกาะลันตาแห่งใหม่


วันที่ 17 ก.ย. 2562 เวลา 13.00 น. ณ ลานใต้สะพานสิริลันตา นายสมบูรณ์  เต็มชื่น นายอำเภอเกาะลันตา พร้อมด้วย นายแพทย์สิริคุปต์  เนตรบุษราคัม ผู้อำนวยการ รพ.เกาะลันตา, นายกฤข  วัฒนพฤกษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ และ น.ส. จรรยารักษ์  สาธิตกิจ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ ร่วมแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง "Run for lanta" ครั้งที่ 2 รายได้สมทบทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้แก่ รพ.เกาะลันตาแห่งใหม่ และสาธารณประโยชน์ชุมชนที่ขาดแคลนในพื้นที่เกาะลันตา



สำหรับเส้นทางวิ่งเริ่มตั้งแต่ รร.บ้านศาลาด่าน - สะพาน - ลันตาน้อย หาดหลังสอด (ลงหาดสำหรับรุ่น 21K) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ฟันรัน 5 กิโลเมตร ค่าสมัคร 450 บาท, มินิมาราธอน 10.5 กิโลเมตร ค่าสมัคร 550 บาท, ฮาล์ฟมาราธอน 21 กิโลเมตร ค่าสมัคร 650 บาท โดยแบ่งรุ่นออกเป็น ขายและหญิงและช่วงอายุ ดังนี้ 1. รุ่นทั่วไป 2. รุ่นไม่เกิน 19 ปี 3. รุ่น 20-29 ปี 4. รุ่น 30-39 ปี 5. รุ่น 40-49 ปี 6. รุ่น 50-59 ปี 7. รุ่น 60 ปีขึ้นไป


สำหรับกิจกรรมนี้จะมีขึ้นในวันที่ 27 ต.ค. 2562 จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสร้างสุขภาพที่ดีบนเส้นทางการวิ่งที่สวยงามและยังได้ทำบุญร่วมกันกับ รันฟอร์ลันตา กิจกรรมเดินวิ่งการกุศล มินิ-ฮาล์ฟมาราธอน รันฟอร์ลันตาครั้งที่ 2 นี้

นอกจากมาร่วมวิ่งการกุศลแล้วก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาเที่ยวพักผ่อน เพราะวันที่ 23 ต.ค. เป็นวันปิยมหาราชซึ่งเป็นวันหยุด ถ้าลา 2 วันก็หยุดยาวกันไปเลย เกาะลันตามีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามอยู่มากมาย แค่เพียงชายหาดทั้ง 13 หาดของเกาะลันตาที่เรียงรายทางทิศตะวันตกตั้งแต่เหนือจรดใต้ ได้ฟินกับน้ำใสๆ หาดสวยๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตก ก็ฟินสุดๆ


นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมดำน้ำชมปะการัง เกาะรอก เกาะห้า เกาะพีพี และ 4 เกาะทะเลตรัง (ถ้ำมรกต) ซึ่งติดอันดับสวยงามระดับโลก พร้อมกิจกรรมสำรวจป่าชายเลน, พายเรือคายัค, สำรวจถ้ำและน้ำตก และอื่นๆ อีกมาย ใครยังไม่เคยมาสัมผัสบรรยากาศดีๆ แบบนี้ไม่ควรพลาด

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรและไลน์ 062-798-4883 ช่องทางสมัครออนไลน์ https://site.google.com/view/runforlunta2/ หรือ https://race.thai.run/runforlanta2 หรือสมัครด้วยตนเองได้ที่ (พื้นที่เกาะลันตา) รพ.เกาะลันตา และ รพ.สต.ทุกแห่ง (พื้นที่กระบี่) สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่
Share:

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

อุดรสไตล์ Walkable City แนวคิด Road Safety Green City หรือ…?

ทุน 200,000-บาท จากนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดอุดรธานี ในการจัดกิจกรรมทดลองเปิดตัวโครงการ ภายใต้ชื่อ อุดรธานี เมืองเดินได้เดินดี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ถนนชิบูย่าเมืองอุดร Udonthani Walkable City เปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเตรียมรับการเจริญเติบโตของเมือง โดยบริษัทพัฒนาเมือง ร่วมกับ เทศบาลเมืองอุดรธานี เป็นฝ่ายจัดการเรื่อง จัดหาช่าง อุปกรณ์ สี ตกแต่งต้นไม้ รอบบริเวณ





ส่วนเป้าหมายระยะยาว ปีหน้าก็จะเริ่มดำเนิการโดยจะต้องทำสีทางข้ามให้ชัดขึ้น ทำระบบสัญญาณไฟ ทำบ้ายแจ้งให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ในการใช้เส้นทางบริเวณนี้ แต่ Udonthani Walkable City ก็เป็นแค่หนึ่งในแผนของกิจกรรมสร้างเมืองไว้ ขับเคลื่อนเรื่อง Green City ไปพร้อมกับทุกภาคส่วน เป้าสูงสุดในการทำ Udonthani Walkable City คือความปลอดภัยทางถนน ลดความเร็วของผู้ใช้รถให้ประชาชนออกมาเดินเยอะขึ้น

การหยิบยกเอากลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อย่างกลุ่ม คนเดินเท้า คนขี่จักรยาน รวมถึงพวกขับขี่ มอร์เตอร์ไซค์ ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงความเปราะบาง การนำเอาเรื่องนี้มาเป็นเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาเมือง เป็นการวางเป้าหมายที่ท้าทาย แต่การที่ทางจังหวัดอุดรธานีกำหนดให้มี Walkable City คือ การต้องปรับฐานคิดวิธการว่าให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า ปรับการออกแบบผังเมือง การออกแบบทางกายภาพ เช่น ทำให้ทางข้ามมีความชัดเจน คือการให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า และ สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันคือ คนเดินเท้านอกจากมีทางข้ามที่ชัดเจนให้เห็นสามารถเดินได้อย่างปลอดภัย ต้องทำให้ความเร็วเฉลี่ยในเมืองไม่สูง เพราะตราบใดที่เรามีทางเดินเท้า ทางเท้ามีทางข้าม แต่รถยังขับเร็ว ทั้งรถยนต์รถมอร์เตอร์ไซค์ จะทำให้คนเดินถนนอันตรายมาก เพราะเขามีความเสี่ยงต่อการถูกชน ความเร็วเพียง 30 – 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงปะทะที่เกิดขึ้นทำให้คนเดินถนนที่ถูกชนตกตึก 5ชั้น มีโอกาสเสียชีวิตได้ ถ้าเราจะทำถนนให้คนเดินได้และปลอดภัยก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความเร็วเฉลี่ยของรถในเมืองด้วย การออกแบบทำให้ถนนไม่กว้างมาก เพราะถนนที่ส่งเสริมการเดิน และรถยังใช้ความเร็วความเสี่ยงของคนจะไปอยู่บนถนน เช่นถ้าคนยังต้องเดินข้ามถนนที่เป็น 5 ช่องทาง อาจจะปลอดภัยในช่วง 2 – 3 ช่องทางแรก ถนนที่มีหลายช่องทาง รถที่ตีคู่กันมาจะบดบังมุมมองคนที่เดินข้ามมากับรถที่กำลังขับแซงกันมาเพราะจะไม่เห็น ต่างฝ่ายจะมองไม่เห็นกันจะมาชนกันระหว่างรถกับคนเดินข้าม เราจะเจอแบบแผนแบบนี้เยอะมาก การชนในช่องทางเดินรถด้านใน คนที่เดินข้ามถนนกับรถจะมาเจอกันทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นควรทำทั้งเรื่องการสร้างกระแสการรับรู้ของผู้ใช้รถใช้ถนน ปรับทัศนะคติคน ทำเรื่องการจัดการผังเมืองทางกายภาพ และเรื่องจัดการจำกัดความเร็วในเขตเมือง

นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนให้สัมภาษณ์ ณ โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี 27 พ.ย.62

หลักการสร้างเมืองเดินได้ จากหนังสือ Walkable City โดย Jeff Speck


 ที่มา https://www.citylab.com/solutions/2012/12/10-techniques-making-cities-more-walkable/


ตัวอย่างมาตรการอื่น ๆ เช่น ในรัฐนิวยอร์ก ‘เขต Bronx’ ในรัฐนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา


ที่มา http://www.nyc.gov/html/dot/downloads/pdf/2012-10-measuring-the-street.pdf

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561 จังหวัดอุดรธานีเปิดทดลองปฏิบัติการเมืองแห่งการเดินบนพื้นที่จริง ณ บริเวณสี่แยกสถานีรถไฟใจกลางเมืองย่านธุรกิจสําคัญ โดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์อุดรธานี ร่วมกับเทศบาลนครอุดรธานี สมาคมการผังเมืองไทย Smart Growth Thailand เครือข่าย UDON2029 และกลุ่มมาดีอีสาน ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) ปักหมุดทดสอบออกแบบเมืองแห่งการเดินด้วยวิธี tactical urbanism ครั้งแรกของประเทศไทยที่ ใช้เกณฑ์ LEED-ND บวกกับ Completed Street บนพื้นที่จริงใจกลางเมืองอุดรธานี โดยเริ่มต้นที่สี่แยกสถานีรถไฟ กลางย่านธุรกิจสําคัญ ยูดีทาวน์ ตลาดเริ่มอุดม ตลาดcenter point ด้วยการตีเส้นทางข้ามม้าลายและวาดระบายสีบน ผิวทางเท้าและทดสอบการใช้พื้นที่สาธารณะ public space โดยระบบสัญญาณไฟจราจร จะถูกตั้งเป็น 3 เฟส เพื่อให้ผู้ข้ามถนนแบบทแยงมุมได้

– เฟสที่ 1 ไฟเขียวถนนประจักษ์

– เฟสที่ 2 ไฟเขียวถนนทองใหญ่

– เฟสที่ 3 ไฟแดงทั้ง 4 ทิศทางเป็นเวลา 30 วินาที


สําหรับการวางผังพัฒนาเมือง พร้อมกลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ Technical term Smart Growth Thailand คือ หน่วยงานที่ทําหน้าที่นํากรอบแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งการดำเนินการได้รับการพิสูจน์แล้ว จากการนําไปปฏิบัติในภาคมหานคร และภาคเมือง เกือบทั่วทั้งโลก สามารถนํามาเป็นแบบอย่าง ในการวางผังและออกแบบกายภาพเมือง ย่าน และ ชุมชน tactical urbanism คือ การเปลี่ยนพื้นที่ลาน ถนน ทางเท้า ลานจอดรถ หรือพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ โดยการก่อสร้าง ตกแต่ง ประดับประดา แบบราคาถูก ต้นทุนต่ํา แต่ได้ผลดีๆ มีปัจจัยหลักคือมีส่วนร่วมลงมือ ลงแรง จากพลเมือง ชาวบ้านร้านตลาดในชุมชนละแวกบ้านใกล้ๆ มาร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้พื้นที่กัน บ้างก็ ปลูกสนาม หญ้า สร้างที่นั่งเล่น ลานกีฬา สนามเด็กเล่น ลานดนตรี ตลาดนัด แผงลอย อื่นๆ


public space คือ พื้นที่สาธารณะที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมทางสังคมร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการ สื่อสาร และสร้างการมีส่วนร่วม เกณฑ์ LEED-ND เกณฑ์ความเป็นผู้นําการออกแบบด้านพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่านชุมชน เพื่อเป็น เครื่องมือสําคัญสําหรับนักผังเมือง เพื่อใช้ในการออกแบบโครงการเกิดใหม่และโครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนเก่าให้มี สภาพเป็นเมืองแห่งการเดิน (walkable city) Completed Street หรือถนนที่สมบูรณ์ คือแบ่งถนนเป็น 4 บทบาท ให้น้ำหนักกับคนเดินมากที่สุด รองลงมาคือ ทางจักรยาน ระบบขนส่งมวลชน และรถยนต์ตามลําดับ ตัวอย่างเช่น เมืองนิวยอร์กที่กฎหมายผังเมืองระบุชัดเจนว่า ในพื้นที่ดําเนินการขนาด 5 เอเคอร์ขึ้นไป จะต้องออกแบบพื้นที่ทางเดินและอํานวยความสะดวกสําหรับจักรยาน

ในส่วนของแนวคิด ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทยอธิบายความสำคัญของ Tactical Urbanism ไว้ว่า โครงการการวางผังเมืองและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองของไทยที่มุ่งหวังให้เกิดผลด้านเศรษฐกิจขนานใหญ่ หรือการวางแผนพัฒนาโครงการที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ รัฐควรเลือกใช้เทคนิค Tactical Urbanism เป็นเครื่องมือในการรับฟังความคิดเห็น แม้จะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการเตรียมการ แต่ผลที่ได้จะมีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความถูกต้องแม่นยำจากความต้องการที่แท้จริงที่ได้รับจากกลุ่มเป้าหมาย โดย Tactical Urbanism เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของการรับฟังความเห็นแบบเดิม ๆ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทดสอบใช้ประโยชน์หรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์จำลอง จะทำให้ทราบถึงความรู้สึกเชิงบวกและเชิงลบที่ได้รับจากสถานการณ์นั้น โดยประเด็นส่วนใหญ่ที่รับฟังได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนโครงข่ายขนส่งมวลชน การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมือง การออกข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาคาร และสภาพแวดล้อมเมือง Tactical Urbanism จึงเปรียบเสมือนกลยุทธ์การอุดช่องโหว่ความคลาดเคลื่อนผลการรับฟังความคิดเห็น

ผลได้ที่สำคัญคือ การรับรู้ความต้องการจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ แม้ไม่ได้ตั้งใจจะเข้าร่วมกิจกรรม แต่จากการได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ กลุ่มดังกล่าวจะแสดงข้อคิดเห็นในทุกมิติออกมา ทำให้การสรุปผลจากสถานการณ์ถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีปริมาณมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดสอบ และจะสามารถทดสอบหาค่ากลางที่ยอมรับได้ด้านนโยบายสาธารณะ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงฟื้นฟูถนน

บทสรุป Udonthani Walkable City จะพุ่งเป้า Road safety หรือ Green City ยังคงต้องให้ประชาชนเมืองตัดสินใจ


ภาพประกอบ : ไพบูลย์ เหลืองอิงคะสุต

ทรรศวิทย์ เชษฐเผ่าพันธ์ ทีมข่าวจังหวัดกระบี่ รายงาน
Share:

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

ใครคิดว่าถูกรางวัลที่ 1 ยากแล้ว!!! ลองมาเล่นเกมส์กับผมไหม(!?)

ใครคิดว่าถูกรางวัลที่ 1 ยากแล้ว!!!
ลองมาเล่นเกมส์กับผมไหม(!?)
>>>ลองหาว่า สค.1 เลขที่ 1 และ
เลขที่ 2  หมู่ที่ 3 ตำบลอ่าวนาง
อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
หากไม่ได้อยู่บนเกาะปอดะจริง
แล้วอยู่ที่ใด ในตำบลอ่าวนาง
(ส่วนตัวผมเชื่อว่าอยู่บนเกาะปอดะ)
แต่หากท่านมีข้อมูลหลักฐานที่
สามารถพิสูจน์ได้ชัดเเจ้งว่า
อยู่ที่อื่น ผมจ่ายทันที 6 ล้านบาท

ธนวัช ภูเก้าล้วน








Share:

ติดตามข่าวสาร

จำนวนผู้เข้าชม

Blog Archive